โควิด-19 กับการเลิกจ้างแบบใดที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

27 สิงหาคม 2564

 

รวมข้อยกเว้นในกฎหมาย เมื่อนายจ้างเลิกจ้างแล้ว กรณีใดไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

“ค่าชดเชย” เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งได้ตกลงกันไว้ ส่วนกรณีเลิกจ้างเพราะเกษียณอายุ ค่าชดเชยจึงมีความหมายมุ่งประสงค์เพื่อตอบแทนการทำงานของลูกจ้างที่ได้ทำประโยชน์ให้แก่นายจ้างตลอดระยะเวลาที่ลูกจ้างทำงาน

กฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนดให้เป็นหน้าที่ของนายจ้างในการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่เลิกจ้าง เมื่อกฎหมายกำหนดไว้เช่นนี้ นั่นหมายความว่า นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างทุกกรณีหรือไม่

 

มาตรา 119 ได้บัญญัติยกเว้นให้ นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้

(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง

(2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน โดยหนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด

(5) ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันติดต่อกัน ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร

(6) ลูกจ้างได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก

ในกรณี (6) ถ้าเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษต้องเป็นกรณีที่เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

 

“การเลิกจ้าง” เป็นกรณีที่นายจ้างกระทำการใดที่ไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด รวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ นายจ้างจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างตามอัตราที่กฎหมายกำหนด

กรณีการทำงานครบสัญญาจ้างตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่เป็นไปตามมาตรา 118 วรรคสามและวรรคสี่แห่งพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 โดยต้องเป็นงานตามโครงการ ซึ่งต้องไม่ใช่งานตามปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้าง หรือเป็นงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว หรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงระยะเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานทั้ง 3 ประเภทดังกล่าวจะต้องแล้วเสร็จภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี โดยนายจ้างต้องทำหนังสือสัญญาจ้างกับลูกจ้างไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง และกำหนดวันที่เริ่มจ้างและวันสิ้นสุดการจ้างว่าเป็นวันที่เท่าใดเดือนใดไว้แน่นอนชัดเจน ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และจะต้องเลิกจ้างตามกำหนดเวลาในสัญญาจ้างดังกล่าวตามมาตรา 118 วรรคสาม แห่งพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 จึงจะเข้าข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างได้

กรณีเลิกจ้าง เนื่องจากลูกจ้างกระทำผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน การที่นายจ้างจะเลิกจ้างด้วยเหตุที่ลูกจ้างกระทำผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน นายจ้างจำเป็นต้องพิเคราะห์เสียก่อนว่า การกระทำดังกล่าวนั้นเป็นการกระทำความผิดกรณีร้ายแรงที่ทำให้นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้หรือไม่ และนายจ้างมีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน กำหนดความผิดไว้เป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่

อย่างไรก็ตาม แม้นายจ้างจะกำหนดความผิดกรณีร้ายแรงไว้ในระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานแล้วก็ตาม อาจจะไม่ได้หมายความว่า การกระทำผิดวินัยที่นายจ้างกำหนดไว้นั้นจะเป็นกรณีร้ายแรงเสมอไป นายจ้างจะต้องพิเคราะห์ถึงลักษณะพฤติการณ์ในการกระทำความผิดของลูกจ้างในขณะกระทำความผิด รวมไปถึงผลแห่งความเสียหายที่เกิดขึ้นว่ามีมากน้อยเพียงใด และจะต้องเป็นกรณีที่ลูกจ้างฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมด้วย หรือเป็นการกระทำที่เข้าข่ายกรณีใดกรณีหนึ่งตามมาตรา 119 แห่งพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หรือไม่ ในกรณีนี้นายจ้างจะต้องตักเตือนเป็นหนังสือก่อน เมื่อแจ้งให้ลูกจ้างทราบโดยชอบแล้ว หากลูกจ้างทำผิดซ้ำคำเตือนภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ลูกจ้างกระทำความผิด นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

แต่หากเป็นกรณีร้ายแรง หรือเลิกจ้างเพราะเหตุหนึ่งเหตุใดตามมาตรา 119 วรรคหนึ่ง แห่งพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 นายจ้างย่อมได้รับยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งอย่างที่กล่าวไปข้างต้น การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 119 วรรคหนึ่ง แห่งพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 นั้น นายจ้างจะต้องระบุข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่เลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิกจ้าง หรือแจ้งให้ลูกจ้างทราบในขณะที่เลิกจ้างลูกจ้างด้วย เพราะถ้าหากนายจ้างไม่ดำเนินการดังกล่าวแล้ว นายจ้างจะยกเหตุการเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยนั้นขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้

แล้วกรณีที่ถูกเลิกจ้างเพราะต้องปิดกิจการจากสถานการณ์โควิด-19 ลูกจ้างต้องรับค่าชดเชยหรือไม่?

 

ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่คอลัมน์ “เรื่องข้นคน HR” วารสาร HR Society Magazine ฉบับเดือนสิงหาคม 2564

สั่งซื้อฉบับนี้ ราคา 200 บาท  คลิก 

สนใจสมัครสมาชิกวารสาร 12 ฉบับ/ปี (เฉลี่ย 175.-/ฉบับ) คลิก 

 

สิทธิประโยชน์สำหรับสมาชิกวารสาร HR Society Magazine :

1. รับหนังสือกฎหมายแรงงาน ปีละ 1 เล่ม (มูลค่า 350 บาท)

2. รับสิทธิใช้ฟรี e-Magazine Index & Audio Book (อ่านวารสารรูปแบบ E-book สืบค้นข้อมูลบทความกฎหมายแรงงาน หลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์)

3. รับส่วนลดในการอบรมสัมมนาของบริษัท ฝึกอบรมและสัมมนาธรรมนิติ จำกัด คลิก

4. รับสิทธิเข้าสัมมนาพิเศษฟรี ปีละ 1 ครั้ง

5. รับส่วนลดในการซื้อหนังสือของธรรมนิติ คลิก

6. รับส่วนลดในการลงประกาศหนังสือพิมพ์ข่าวผู้ถือหุ้น คลิก

 

tag

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?