ทางเลือก สิทธิประกันสังคม เมื่อออกจากงาน
สิทธิประโยชน์ตามประกันสังคมมาตรา 33 จะยังอยู่ต่อไปอีก 6 เดือน ตั้งแต่ลาออก หรือ ถูกให้ออกจากงาน
ผู้ประกันตนที่ออกจากงานจะได้รับสิทธิประโยชน์ 4 กรณี
สิทธิประโยชน์ |
ระยะเวลาสมทบ |
กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย | 3 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเจ็บป่วย |
กรณีคลอดบุตร | 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนคลอดบุตร |
กรณีทุพพลภาพ | 3 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนทุพพลภาพ |
กรณีเสียชีวิต | 1 เดือน ภายใน 6 เดือนก่อนเสียชีวิต |
ทางเลือกที่ 1 : สมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39
เงื่อนไข
1.เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และนำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน
2.ลาออก หรือถูกให้ออกจากงานมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน
3.ไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม
ความคุ้มครอง
1.กรณีประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย
2.กรณีคลอดบุตร
3.กรณีเสียชีวิต
4.กรณีสงเคราะห์บุตร
5.กรณีชราภาพ
เอกสารที่ใช้
1.แบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (สปส.1-20)
2.บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรที่ราชการออกให้
3.กรณีประสงค์ชำระเงินสมทบโดยหักบัญชีเงินฝากธนาคาร ให้แนบสำเนาบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่แสดงชื่อและเลขที่บัญชี
สถานที่สมัคร
สมัครด้วยตนเอง
1.สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่
2.สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา
สมัครออนไลน์
โดยการส่งแบบคำขอสมัครผ่าน
1.ไปรษณีย์ลงทะเบียน
2.อีเมล
3.โทรสาร
4.LINE
ทางเลือกที่ 2 : ผู้ประกันตนขอใช้สิทธิประโยชน์กรณีว่างงานได้
เงื่อนไข
1.จ่ายเงินสมทบ 6 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนการว่างงาน
2.มีความสามารถในการทำงาน และ ไม่ปฏิเสธงาน
3.ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ว่างงานภายใน 30 วัน นับแต่ว่างงาน โดยต้องรายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่สำนักจัดหางานอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
4.ไม่ใช่การถูกเลิกจ้างเพราะเหตุ
– ทุจริตต่อหน้าที่
– กระทำผิดอาญาโดยเจตนาต่อนายจ้าง
– จงใจทำให้นายจ้างเสียหาย
– ฝ่าฝืนข้อบังคับอย่างร้ายแรง
– ละทิ้งหน้าที่ 7 วันติตต่อกัน
– ศาลพิพากษาให้จำคุก
6. ไม่ใช่ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ
สิทธิประโยชน์
ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ตั้งแต่วันที่ 8 นับแต่วันว่างงาน
1.เงินทดแทนกรณีถูกเลิกจ้าง 50% ของค่าจ้างรายวันไม่เกิน 180 วัน
2. เงินทดแทนกรณีลาออก หรือ 30% ของค่าจ้างรายวัน สิ้นสุดระยะเวลาตามสัญญาจ้าง ไม่เกิน 90 วัน