3 วันหยุด 6 วันลา ตามกฎหมาย คือ อะไร ?

3 วันหยุด 6 วันลาตามกฎหมาย คือ อะไร ?

3 วันหยุด 6 วันลาตามกฎหมาย คือ ?

3 วันหยุด คือ นายจ้างกำหนดวันหยุดต่าง ๆ ให้ลูกจ้างตามกฎหมายแรงงาน ได้แก่

1.วันหยุดประจำสัปดาห์ (ม. 28)
2.วันหยุดตามประเพณี (ม. 29)
3.วันหยุดพักผ่อนประจำปี (ม. 30)

6 วันลา คือ วันที่ลูกจ้างใช้สิทธิหยุดงานเนื่องจากเหตุจำเป็นต่าง ๆ โดยได้รับอนุญาตจากนายจ้าง ได้แก่

1.ลาป่วย (ม. 32,57)
2.ลาคลอด (ม. 41,59)
3.ลากิจส่วนตัว (ม. 34)
4.ลารับราชการทหาร (ม. 35,57)
5.ลาฝึกอบรม (ม. 36)
6.ลาทำหมัน (ม. 33,57)

3 วันหยุด

1. วันหยุดประจำสัปดาห์ (ม. 28)

นายจ้างกำหนดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน โดยมีระยะห่างกันไม่เกิน 6 วัน ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์ (ยกเว้นลูกจ้างรายวัน รายชั่วโมง หรือตามผลงาน)

2.วันหยุดตามประเพณี (ม. 29)
นายจ้างกำหนดวันหยุดตามประเพณีไม่น้อยกว่า 13 วันต่อปี โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติด้วย กรณีวันหยุดตามประเพณีตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ ให้ลูกจ้างได้รับวันหยุดชดเชยในวันทำงานถัดไปและได้รับค่าจ้างในวันหยุดตามประเพณี

3.วันหยุดพักผ่อนประจำปี (ม. 30)
ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี มีสิทธิได้รับวันหยุดพักผ่อนประจำปีไม่น้อยกว่าปีละ 6 วันทำงาน และได้รับค่าจ้างเท่ากับวันทำงานปกติ กรณีทำงานยังไม่ครบ 1 ปี นายจ้างอาจอนุญาตหยุดได้ตามสัดส่วนจริง

6 วันลา

1.ลาป่วย (ม. 32,57)
ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง โดยได้รับค่าจ้างไม่เกิน 30 วันทำงานต่อปี หากลูกจ้างลาป่วยตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป ต้องมีใบรับรองที่ออกโดยแพทย์ชั้นหนึ่งหรือ สถานพยาบาลของทางราชการ​

2.ลาคลอด (ม. 41,59)
ลูกจ้างสตรีมีครรภ์ สามารถลาคลอดบุตรได้ครรภ์หนึ่งไม่เกิน 98 วัน โดยนับรวมวันหยุดที่มีระหว่างวันลาด้วย และให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างลาคลอดเท่ากับค่าจ่างในวันทำงานไม่เกิน 45 วัน และจากกองทุนสวัสดิการสังคม 45 วัน

3.ลากิจส่วนตัว (ม. 34)
ลูกจ้างมีสิทธิลากิจที่จำเป็นโดยได้รับค่าจ้างแต่ไม่เกิน 3 วันทำงานต่อปี

4.ลารับราชการทหาร (ม. 35,57)
ลูกจ้างชายมีสิทธิลาเพื่อรับราชการทหารเพื่อเกณฑ์ทหาร ฝึกทหาร หรือทดสอบความพร้อมตามกฎหมาย และได้รับค่าจ้างในอัตราเท่ากับวันทำงานปกติในระหว่างวันลาแต่ไม่เกิน 60 วันต่อปี

5.ลาฝึกอบรม (ม. 36)
ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ความสามารถตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยต้องแจ้งถึงเหตุที่ลาพร้อมเอกสารหลักฐานประกอบ(ถ้ามี) ให้นายจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน และลูกจ้างจะไม่ได้รับค่าจ้างในวันลาเพื่อฝึกอบรมนั้น

6.ลาทำหมัน (ม. 33, 57)
ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อทำหมัน และลาหยุดจากผลจากการทำหมัน ตามระยะเวลาที่กำหนดและมีใบรับรองที่ออกโดยแพทย์ชั้นหนึ่ง นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างที่ลาเพื่อทำหมันให้เท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?