“สิทธิ” ขั้นพื้นฐาน ของผู้ต้องหา และ จำเลย

11 มีนาคม 2565

ความหมายของคำว่า “ผู้ต้องหา”

คือ บุคคลที่ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำความผิดอาญา แต่ไม่ได้ถูกฟ้องต่อศาล ในระหว่างนี้ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายรัฐธรรมนูญและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ดังนี้…

สิทธิขั้นพื้นฐานของ “ผู้ต้องหา”

1. สิทธิที่จะไม่ถูกจับกุมโดยไม่มีเหตุอันสมควร

2. สิทธิที่จะได้รับแจ้งให้ทราบว่าถ้อยคำที่ผู้ต้องหากล่าวนั้นอาจเป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาได้

3. สิทธิที่จะไม่ตอบคำถามของเจ้าพนักงานสอบสวนเว้นแต่คำถามที่ถามชื่อหรือที่อยู่ของบุคคลนั้นเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายหรือตอบคำถามที่เป็นผลเสียแก่ตนเอง หรือให้การในชั้นสอบสวน

4. สิทธิที่จะได้รับการสอบสวนด้วยความรวดเร็วต่อเนื่องและเป็นธรรม

5. สิทธิพบและปรึกษาผู้ที่จะเป็นทนายความสองต่อสอง

6. สิทธิที่จะให้ทนายความหรือคนที่ไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำของตนได้

7. สิทธิที่จะได้รับการเยี่ยมตามสมควร

8. สิทธิที่จะไม่ถูกบังคับ ขู่เข็ญ ทรมาน หรือใช้วิธีหลอกลวงให้รับสารภาพ

9. สิทธิที่จะได้รับการพยาบาลโดยเร็วเมื่อเจ็บป่วย

10. สิทธิในการขอประกันต้องได้รับการพิจารณาอย่างรวดเร็วกรณีไม่ได้ประกันต้องได้รับแจ้งเหตุผลให้ทราบโดยเร็ว

 

ความหมายของคำว่า “จำเลย”

คือ บุคคลที่ถูกฟ้องคดี โดยข้อหากระทำความผิดอาญา มีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ          และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ดังนี้…

สิทธิขั้นพื้นฐานของ “จำเลย”

1. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีด้วยความรวดเร็วต่อเนื่องและเป็นธรรม

2. สิทธิในการขอประกันต้องได้รับการพิจารณาอย่างรวดเร็วกรณีไม่ให้ประกันต้องแจ้งเหตุผลให้จำเลยทราบโดยเร็ว

3. สิทธิที่จะอุทธรณ์คัดค้านการไม่ให้ประกัน

4. สิทธิที่จะพบทนายความเป็นการส่วนตัว

5. สิทธิที่จะได้รับการเยี่ยมตามสมควร

6. สิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐด้วยการจัดหาทนายความให้

7. สิทธิที่จะแต่งตั้งทนายความเพื่อสู้คดี

8. สิทธิที่จะตรวจหรือคัดสำเนาคำให้การของตนในชั้นสอบสวนหรือเอกสารประกอบคำให้การของตนเมื่อพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลแล้ว

9. สิทธิที่จะตรวจดูสำนวนของศาลและขอคัดสำเนาโดยเสียค่าธรรมเนียม

10. สิทธิที่จะตรวจดูสิ่งของที่ยื่นเป็นพยานหลักฐานและคัดสำเนาหรือถ่ายรูปสิ่งนั้น ๆ ได้

11. สิทธิที่จะได้รับสำเนาคำฟ้อง

12. สิทธิที่จะได้รับการอ่านและอธิบายคำฟ้องให้ฟังและการสอบถามคำให้การจากศาล

13. สิทธิที่จะให้การต่อสู้คดี

14. สิทธิที่จะได้การสอบถามเรื่องทนายความก่อนเริ่มการพิจารณาคดี

15. สิทธิที่จะคัดค้านคดีที่โจทก์ขอถอนฟ้องในคดีที่จำเลยได้ให้การแก้คดีแล้ว

 

 

 

 

 

 

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?