ยุคนี้ใครๆ ก็อยากเป็น Influencer ไม่ว่าจะสายรีวิว สายท่องเที่ยว หรือคอนเทนต์ครีเอเตอร์ เพราะนอกจากจะได้ทำในสิ่งที่รักแล้ว รายได้ยังดีจนบางคนกลายเป็นเศรษฐีใหม่แบบไม่รู้ตัว แต่รู้หรือไม่ว่าเมื่อมี “รายได้” ก็ต้องมี “ภาษี” ที่ต้องจัดการด้วย ไม่ว่าคุณจะเป็นอินฟูมือใหม่ หรือมือโปรที่มีรายได้หลายช่องทาง หากรายได้เกินเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ก็มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมาย
มาดูกันว่าอินฟูแบบคุณ ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง? เสียเท่าไหร่? และต้องยื่นแบบภาษีเมื่อไหร่? อ่านจบแล้วจัดการภาษีได้ชิลๆ ไม่ต้องกลัวโดนเรียกย้อนหลังแน่นอน
Influencer เมื่อมีรายได้…ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง
(กรมสรรพากร 24 มีนาคม 2568)
หากมีรายได้เกินเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี
• คนโสด มีรายได้เกิน 60,000 บาทต่อปี
• คนมีคู่สมรส มีรายได้รวมกันเกิน 120,000 บาทต่อปี
• ให้คำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิ (รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน)คูณด้วยอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
• ถ้ามีรายได้มากกว่า 120,000 บาทต่อปี (ไม่รวมเงินเดือน)
• ต้องคำนวณภาษีอีกวิธีหนึ่ง คือ รายได้ × 0.5% แล้วมาเปรียบเทียบกับ วิธีคำนวณตามปกติ หากวิธีนี้มีภาษีเกิน 5,000 บาท ให้เสียภาษีตามวิธีวิที่สูงกว่า
(หากไม่เกิน 5,000 บาท ให้เสียภาษีตามการคำนวณวิธีปกติ)
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
• เมื่อมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการทั้งปีเกิน 1.8 ล้านบาท
• ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ ณ สำนักงานสรรพากร
• พื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือ ยื่นผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากรที่ www.rd.go.th
• ปัจจุบัน Influencer ยังคงเป็นอาชีพที่หลายๆ คนใฝ่ฝัน เพราะนอกจากจะได้ทำในสิ่งที่คุณชื่นชอบ สนุกสนาน มีอิสระ และมีชื่อเสียงแล้ว ยังสามารถทำรายได้ให้สูงมาก แต่อย่างไรก็ตาม อย่าลืมว่าทุกคนต่างมีหน้าที่เสียภาษีด้วยกัน
ถ้าจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ต้องปฏิบัติหน้าที่ทางภาษีอย่างไร?
สำหรับ Influencer ที่เป็นบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
• เลขประจำตัวผู้เสียภาษี
– ใช้เลขทะเบียนนิติบุคคล 13 หลัก ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ออกให้เป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษี
• จัดทำบัญชี
– ตามมาตรฐานทางบัญชี
• ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด. 51/ ภ.ง.ด.50)
– บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล รอบ ฯ ละ 2 ครั้ง ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาที่สถานประกอบการ (สำนักงานใหญ่) ตั้งอยู่หรือยื่นผ่านอินเทอร์เน็ตที่ www.rd.go.th
กำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดายื่นปีละ 2 ครั้ง
1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90)
กำหนดยื่นตั้งแต่ 1 ก.ค. – 30 ก.ย. ของปีนั้น โดยนำเงินได้ตามมาตรา 40(5) – (8) ที่ได้รับตั้งแต่เดือน ม.ค. – มิ.ย. ของปีนั้นมารวมคำนวณภาษี
2. ภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด.94)
กำหนดยื่นตั้งแต่ 1 ม.ค. – 31 มี.ค. ของปีถัดไป โดยนำเงินได้ ทุกประเภทตั้งแต่เดือนม.ค. – ธ.ค. ของปีนั้น มารวมคำนวณภาษีและนำภาษีที่ชำระตาม ภ.ง.ด 94 มาเครดิตภาษีได้
หากยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต (www.rd.go.th) ได้รับสิทธิขยายเวลายื่นแบบออกไปอีก 8 วัน
อ่านบทความอื่นๆ
ครบเครื่องเรื่องสัญญาจ้างงาน Influencer
สิทธิประโยชน์ทางภาษี โอนกิจการ vs ควบรวมกิจการ
ประเด็นต้องรู้ก่อนยื่นภาษีบุคคลธรรมดา