คนไร้ความสามารถ-คนเสมือนไร้ความสามารถ เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่?

tax incompetent people

การชำระภาษีถือเป็นเรื่องที่บุคคลธรรมดาหรือผู้ที่มีหน้าที่ต้องจ่ายนั้นเลี่ยงไม่ได้ แต่ก็ยังมีหลายคนสงสัยว่า ผู้ที่ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถนั้นต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ วันนี้เรามีคำตอบมาฝากกัน

ลักษณะคนไร้ความสามารถ และคนเสมือนไร้ความสามารถ

คนไร้ความสามารถ

บุคคลวิกลจริตที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ

• เป็นบุคคลที่ขาดความรู้สึกและขาดความรับผิดชอบอย่างรุนแรง เช่น โรคสมองฝ่อ สมองเสื่อมขั้นรุนแรง วิกลจริต เจ็บป่วยไม่สามารถรักษาให้หายขาด ทำภารกิจส่วนตัวไม่ได้

• ต้องอยู่ในความดูแลของผู้อนุบาล

• ผู้อนุบาลจะเป็นผู้กระทำการต่างๆ แทนทั้งหมด

• ผู้อนุบาล คือ พ่อ แม่ ลูก หรือคู่สมรส ซึ่งดูแลให้การรักษาคนไร้ความสามารถ ถ้าไม่ได้เป็นผู้ดูแลศาลก็มักจะไม่แต่งตั้งให้เป็นผู้อนุบาล

คนเสมือนไร้ความสามารถ

ผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ

• เป็นบุคคลมีกายพิการ หรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

• มีประพฤติกรรมสุรุ่ยสุร่าย ใช้จ่ายเงินเกินกว่าฐานะ ทำให้ทรัพย์สินร่อยหรอจนหมดตัว

• ติดสุรา เมาตลอดเวลา ติดฝิ่น เฮโรอีน จนไม่สามารถทำงานได้เอง

• ต้องอยู่ในความดูแลของผู้พิทักษ์

• คนเสมือนไร้ความสามารถจะกระทำการใดต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ หากไม่ได้รับความยินยอมนิติกรรมต่างที่ทำถือเป็นโมฆียะ

• ผู้พิทักษ์ไม่สามารถกระทำการแทนคนเสมือนไร้ความสามารถได้

• ผู้พิทักษ์ คือบุคคลต่อไปนี้ คู่สมรส บิดามารดา ปู่ย่าตายาย ผู้สืบสันดาน ลูก หลานเหลน ผู้ปกครองหรือผู้พิทักษ์ ผู้ที่ปกครองดูแล พนักงานอัยการ

 

ภาษีคืออะไร ใครมีหน้าที่เสียภาษี?

ภาษี คือ สิ่งที่รัฐบาลเรียกเก็บจากประชาชนผู้มีรายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อนำไปใช้พัฒนาประเทศในด้านต่างๆ โดยการจ่ายภาษีนี้จะไม่ใช่การบริจาค หรือการเลือกจ่ายยอดตามอัธยาศัย

ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษี คือ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมา ได้แก่

1) บุคคลธรรมดา (รวมถึงผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ เสมือนไร้ความสามารถ)

2) ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

3) ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี

4) กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง

5) วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

 

คนไร้ความสามารถ-คนเสมือนไร้ความสามารถ ต้องเสียภาษีหรือไม่?

มาตรา 57 ถ้าผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง เป็นผู้เยาว์ ผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ หรือเป็นผู้อยู่ในต่างประเทศ ให้เป็นหน้าที่ของผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล ผู้พิทักษ์ หรือผู้จัดการกิจการอันก่อให้เกิดเงินได้พึงประเมินนั้น แล้วแต่กรณี ต้องปฏิบัติตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง และเป็นตัวแทนในการชำระภาษี

ดังนั้น ตาม มาตรา 57 บุคคลที่ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ ไม่สามารถใช้สิทธิ์ดังกล่าวเพื่อเลี่ยงการจ่ายภาษีได้ แม้ไม่สามารถกระทำการใดๆ ได้ด้วยตนเอง หรือทำแล้วเป็นโมฆะ แต่ก็ยังมีผู้ที่ได้รับแต่งตั้งจากศาลให้เป็นผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ คอยดูแล ตรวจสอบ และดำเนินการจ่ายภาษีให้กับบุคคลทั้ง 2 กลุ่มนี้ได้

 

อ้างอิงข้อมูล
กรมสรรพากร

tag

Tags

COVID-19 Dharmniti ditc HR PDPA กฎหมาย กฎหมายภาษี กฎหมายแรงงาน กฏหมาย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพากร กลุ่มบริษัท ธรรมนิติ จำกัด (มหาชน) กลุ่มธรรมนิติ การประชุมคณะรัฐมนตรี การเงิน ข้อมูลส่วนบุคคล ครม. ที่ดิน ธรรมนิติ ธุรกิจ นักบัญชี นายจ้าง บริษัท ดีไอทีซี จำกัด บริษัท ตรวจสอบภายในธรรมนิติ จำกัด บริษัท ธรรมนิติการบัญชีและภาษีอากร จำกัด บริษัท ธรรมนิติ จำกัด (มหาชน) บัญชี ประกันสังคม ประชุม ครม. ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ประกอบการ ผู้ประกันตน พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ภาษี มติ ครม. ลดหย่อนภาษี ลูกจ้าง ลูกหนี้ วารสาร CPD & Account วารสาร HR Society magazine วารสารเอกสารภาษีอากร เงินสมทบ เจ้าหนี้ โควิด-19

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?