อัปเดตรายการ ‘ลดหย่อนภาษี’ บุคคลธรรมดา 2562

ลดหย่อนภาษี 62

18 เมษายน 2563

สำหรับผู้มีเงินพึงประเมินที่ต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดา สามารถนำค่าลดหย่อนต่าง ๆ มาหักลดก่อนจะคำนวณรายได้สุทธิเพื่อชำระภาษีประจำปี โดยในปี 2562 นี้ มีรายการที่นำมาใช้ลดหย่อนสรุปได้ดังต่อไปนี้

หมวด : ผู้มีเงินได้และครอบครัว

1. ผู้มีเงินได้

ลดหย่อนได้ 60,000 บาท

2. คู่สมรส

• ค่าลดหย่อนคู่สมรส หากไม่มีเงินได้ลดหย่อนได้ 60,000 บาท แต่ถ้ามีเงินได้ทั้งคู่ ให้หักลดหย่อนรวมกันได้ไม่เกิน 120,000 บาท

• ค่าเบี้ยประกันชีวิตคู่สมรสที่อายุกรมธรรม์ 10 ปีขึ้นไป สำหรับคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท

3. บุตร

• ค่าลดหย่อนบุตรและบุตรบุญธรรม

– ค่าลดหย่อนบุตรบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายคนแรก ลดหย่อนได้ 30,000 บาท

– ค่าลดหย่อนบุตรบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายคนที่สอง (เกิดปี 2561 ลดหย่อนได้ 60,000 บาท)

– โดยหากเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายนำมาลดหย่อนได้ไม่จำกัดจำนวน

– แต่หากนำบุตรบุญธรรม ลดหย่อนได้ 30,000 บาท มารวมลดหย่อนได้ไม่เกิน 3 คน

• ค่าคลอดบุตร นำมาลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 60,000 บาท

4. บิดามารดา

• ค่าอุปการะบิดามารดาของผู้มีเงินได้และคู่สมรส นำมาลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท โดยมีเงื่อนไขว่าต้องอายุ 60 ปีขึ้นไป และมีเงินได้พึงประเมินไม่เกิน 30,000 บาท

• ค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา ค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาของผู้มีเงินได้และคู่สมรส นำมาลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยมีเงื่อนไขว่าต้องบิดามารดาต้องมีเงินได้พึงประเมินไม่เกิน 30,000 บาท

5. ค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือทุพพลภาพ

ลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท

หมวด : ค่าลดหย่อนอื่นๆ ของผู้มีเงินได้

6. ค่าเบี้ยประกันของผู้มีเงินได้

• ค่าเบี้ยประกันชีวิตอายุกรมธรรม์ 10 ปีขึ้นไปของผู้มีเงินได้ นำลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท

• ค่าเบี้ยประกันสุขภาพ ค่าเบี้ยประกันสุขภาพผู้มีเงินได้ นำมาลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท

• ทั้ง 2 ประเภทเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท

7. เงินสมทบกองทุนประกันสังคม

ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 9,000

8. เงินซื้อกองทุนรวมระยะยาว LTF

นำมาลดหย่อนได้ 15 % ของรายได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท

9. การออมเงิน

• เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นำมาลดหย่อนได้ 15 % ของรายได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท

• เงินซื้อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF นำมาลดหย่อนได้ 15 % ของรายได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท

• เงินสะสมกองทุนการอออมแห่งชาติ (กอช) นำลดหย่อนได้ 13,200 บาท

• กองทุน กบข. ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 500,000 บาท

• กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 500,000 บาท

• ค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ นำมาลดหย่อนได้ 15 % ของรายได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท

• ทั้ง 6 ประเภทเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท

10. ดอกเบี้ยซื้อบ้าน

• ดอกเบี้ยที่จ่ายให้ธนาคารหรือสถาบันการเงินเพื่อสร้างที่อยู่อาศัย นำมาลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท

หมวด : โครงการพิเศษอื่น ๆ

• โครงการบ้านหลังแรกปี 58-59 นำมาลดหย่อนได้ 20% ของราคาบ้านที่ซื้อ โดยจะเฉลี่ยใช้สิทธิเท่าๆ กันเป็นเวลา 5 ปี (เริ่มใช้ ปี 2558-2559) สูงสุดปีละ 120,000

• ค่าธรรมเนียมรับชำระเงินด้วยบัตรเดบิต สำหรับเงินได้ประเภทที่ 5-8 คือ ค่าเช่า ค่าวิชาชีพอิสระ ค่ารับเหมาทั้งค่าแรง-ค่าของ และเงินได้การประกอบธุรกิจอื่น ๆ นำมาใช้เป็นค่าลดหย่อนได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง

• ค่าสนับสนุนพรรคการเมือง ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท

• โครงการช็อปช่วยชาติ สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้เพียง 3 หมวดสินค้า คือ ยางล้อรถ หนังสือ และสินค้า OTOP ระหว่างวันที่ 1-16 มกราคม 62 ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท

• เงินลงทุนธุรกิจ Startup นำมาลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท

• โครงการเที่ยว เมืองหลักตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 เมืองรองตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 20,000 บาท รวมกันไม่เกิน 20,000 บาท

• ซื้อหนังสือและ e-book นำมาลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท

• ซื้อสินค้า OTOP นำมาลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท

• ซื้อสินค้าเพื่อการศึกษาและกีฬา นำมาลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท

• ค่าซ่อมบ้านน้ำท่วม นำมาลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท

• ค่าซ่อมรถน้ำท่วม นำมาลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท

• บ้านหลังแรกปี 2562 เมื่อซื้อบ้านหรือคอนโดหลังแรกเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ในราคาไม่เกิน 5,000,000 บาท โดยต้องโอนกรรมสิทธิ์ภายใน 31 ธันวาคม 2562 สามารถนำมาลดหย่อนได้ 200,000 บาท

หมวด : บริจาค

11. บริจาค

•เงินบริจาคทั่วไป หักค่าใช้จ่ายได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 10 % ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน

•เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษาและการกีฬา หักค่าใช้จ่ายได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน10 % ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน

 

โดย : กองบรรณาธิการ ธรรมนิติ

 

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?