6 ประเด็นเหตุการณ์ “การรับรู้รายการทางบัญชี” ชน “TAX POINT”

15 ตุลาคม 2562

สำหรับเนื้อหาบทความนี้ ขอแชร์คำถามจากที่ผมได้ไปบรรยายหลายที่มักพบประเด็นเกี่ยวกับการรับรู้รายการทางบัญชี และการรับรู้จุดรับผิดทางภาษี (Tax Point)

ซึ่งผมเองก็ได้รวบรวมความรู้ และข้อซักถามต่าง ๆ มานำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับท่านผู้อ่าน

ประเด็นเหตุการณ์ การรับรู้รายการทางบัญชี การรับรู้จุดรับผิดทางภาษีมูลค่าเพิ่ม

1. กรณีที่กิจการได้ทำการขายสินค้า จะรับรู้รายการทางบัญชี และจุดรับผิดทางภาษีอย่างไร?

1. โอนความเสี่ยงและผลตอบแทน

2. ไม่เกี่ยวข้องกับการบริหารสินค้า

3. วัดมูลค่าของรายได้ได้น่าเชื่อถือ

4. มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ

5. วัดมูลค่าต้นทุนที่เกิดขึ้นได้น่าเชื่อถือ

 

เกิดเมื่อมีการส่งมอบ แต่หากมีการกระทำในลักษณะดังกล่าวนี้ถือว่าจุดรับผิดเกิดขึ้นทันที

➣ โอนกรรมสิทธิ์สินค้า

➣ ชำระค่าสินค้าก่อนถึงกำหนดชำระ

➣ เมื่อออกเอกสารใบกำกับภาษี

 

2. ขายสินค้าตามสัญญาให้เช่าซื้อ/สัญญาซื้อขายผ่อนชำระ/ซื้อขายโดยใช้บัตรเครดิต

 

แนวปฏิบัติและหลักการวิเคราะห์รายการรับรู้ให้พิจารณาเช่นเดียวกับ 1. โดยการขายสินค้าด้วยวิธี

 

การนี้จะต้องรับรู้รายการอีกรายการหนึ่ง คือบัญชีลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ หรือลูกหนี้ขายผ่อนชำระ ซึ่งจะทยอยตัดจำหน่าย เมื่อมีการชำระค่างวด

 

ปกติกรรมสิทธิ์ในสินค้าจะยังไม่ได้โอนไปยังผู้ซื้อ โดยผู้ซื้อได้รับสินค้าไปเรียบร้อยแล้ว จุดรับผิดจะเกิดเมื่อถึงกำหนดชำระราคาตามงวด ยกเว้นว่ามีการกระทำนี้

➣ ชำระค่าสินค้าก่อนถึงกำหนดชำระ

➣ เมื่อออกเอกสารใบกำกับภาษี

 

3. ขายสินค้ากรณีที่มีการแต่งตั้งตัวแทนเพื่อขาย

พิจารณาได้ว่าผู้ฝากขายจะรับรู้รายการ ต่อเมื่อได้รับรายงานจากตัวแทนว่ามีการจำหน่ายสินค้า

 

ผู้ฝากขายจึงรับรู้รายการขายสินค้า แต่สำหรับตัวแทนนั้นรับรู้รายได้ในวันที่เท่ากับจำนวนส่วนแบ่งที่ตกลงกันไว้ โดยส่วนที่เหลือ(ราคาขาย-ค่านายหน้าที่ตัว

 

แทนได้รับ) จะต้องส่งให้ผู้ฝากขายรับรู้รายได้ต่อไป

 

เมื่อมีการแต่งตั้งตัวแทนและส่งมอบสินค้าให้ตัวแทน จุดรับผิดจะเกิดเมื่อตัวแทนได้ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ ยกเว้นกรณีเกิดเหตุการณ์

 

➣ ตัวแทนโอนกรรมสิทธิ์ในตัวสินค้าให้ผู้ซื้อ

➣ ตัวแทนรับชำระค่าสินค้า

➣ ตัวแทนนำสินค้าไปใช้เอง/คนอื่น

➣ เมื่อออกเอกสารใบกำกับภาษี

 

จากประเด็นเกี่ยวกับการขายสินค้า ผ่านไปแล้ว 3 ข้อ น่าจะพอเป็นแนวทางปฏิบัติให้ท่านผู้อ่านได้นำไปใช้รับรู้รายการเกี่ยวกับรายได้ และรับรู้จุดรับผิดทางภาษีมูลค่าเพิ่ม (Tax Point) กันพอสมควร

คราวนี้ลองมาดูกิจการที่เป็นธุรกิจบริการกันบ้างครับว่าจะมีจุดที่รับรู้อย่างไรกันบ้าง

ประเด็นเหตุการณ์ การรับรู้รายการทางบัญชี การรับรู้จุดรับผิดทางภาษีมูลค่าเพิ่ม

1. กรณีที่กิจการมีการให้บริการเป็นการทั่วไป กับลูกค้า

1. วัดมูลค่าของรายได้ได้น่าเชื่อถือ

2. มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่

 

กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ

 

3. วัดขั้นความสำเร็จได้น่าเชื่อถือ

4. วัดมูลค่าต้นทุนที่เกิดขึ้นได้น่าเชื่อถือ

เกิดเมื่อมีการชำระค่าบริการ ยกเว้นแต่ว่าจะมีการ

 

➣ ได้ใช้บริการด้วยตนเอง หรือใช้โดยคนอื่น ๆ

➣ เมื่อออกเอกสารใบกำกับภาษี

 

2. กรณีการบริการตามสัญญา ซึ่งมีระบุค่าตอบแทนตามสัดส่วนของการบริการ (ชำระเป็นงวด)

จะรับรู้ได้ต่อเมื่อมีการวัดขั้นความสำเร็จ

 

ได้อย่างน่าเชื่อถือ ซึ่งส่วนใหญ่นั้นจะ

 

อาศัยผู้ที่ความเชี่ยวชาญ หรือผู้ควบคุม

 

งานเป็นผู้ประเมินขั้นความสำเร็จ

รับรู้เมื่อได้รับชำระค่าบริการตามส่วนที่ตกลงในสัญญา ยกเว้นเสียแต่ว่า

 

➣ ได้ใช้บริการด้วยตนเอง หรือใช้โดยคนอื่น ๆ

➣ เมื่อออกเอกสารใบกำกับภาษี

 

3. กรณีให้บริการติดตั้งหรือประกอบ

รับรู้รายได้ตามขั้นความสำเร็จของการ

 

บริการ หรือรายการได้เมื่อผู้ซื้อนั้นยอม

 

รับในสินค้า ประกอบกับการติดตั้งหรือประกอบนั้นเสร็จสมบูรณ์ยกเว้นแต่การ

 

ติดตั้งนั้นเป็นเพียงแค่ส่วนประกอบย่อย ๆ ของการขาย ให้รับรู้เมื่อขายสินค้า

 

รับรู้เมื่อได้รับชำระค่าบริการตามส่วนที่ตกลงกัน หรือเมื่อได้รับชำระครบจำนวน เว้นเสียแต่ว่า

 

➣ ได้ใช้บริการด้วยตนเอง หรือใช้โดยคนอื่น ๆ

➣ เมื่อออกเอกสารใบกำกับภาษี

 

ทั้งนี้ประเด็นต่าง ๆ ในการดำเนินธุรกิจจริงนั้น อาจจะมีเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่จะต้องพิจารณาจุดในการรับรู้รายการต่าง ๆ ทั้งทางด้านบัญชี และภาษีอากร โดยอาศัยข้อพิจารณาจากปัจจัยและองค์ประกอบอื่น ๆ ร่วมด้วย ซึ่งนักบัญชีก็ต้องอาศัยหลักความระมัดระวังในการพิจารณาเช่นกัน เพราะหากพิจารณาจุดรับรู้รายการทางบัญชีที่ผิดพลาดอาจส่งผลกระทบต่องบการเงิน และการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงิน หรือหากพิจารณาจุดรับผิดทางภาษีมูลค่าเพิ่มผิดพลาด ก็จะกระทบต่อการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งมีความผิดตามมาตรา 90 มาตรา 90/1, 90/2, 90/3, 90/4 และ 90/5 มีทั้งโทษปรับ และจำคุก

ธนพล สุขมั่นธรรม : ผู้เขียน

 

—-

แหล่งที่มา : www.jobdst.com

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?