ภาษี TAX ที่ยูทูปเบอร์ คอนเทนต์ครีเอเตอร์ต้องรู้

ปัจจุบันประเทศไทยมีชาวต่างชาติเข้ามาทำ You Tube หรือ รีวิวสินค้าใน TikTok และมีรายได้เกิดขึ้นในไทยมากมาย แต่อาจไม่รู้ว่า หากมีรายได้เกิดขึ้นในไทยต้องเสียภาษีหรือไม่ อย่างไร?

กฎหมายเกี่ยวกับภาษี TAX ที่ยูทูปเบอร์ คอนเทนต์ครีเอเตอร์ต้องรู้

การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 51 เกินเวลา หมายถึง การส่งแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด. 51) ไปยังกรมสรรพากรหลังจากกำหนดส่งที่กฎหมายกำหนดไว้ การกระทำดังกล่าวถือเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายภาษีและอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อผู้ประกอบการหลายประการ

มาตรา 41 ประมวลรัษฎากร กำหนดว่า ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือ กิจการที่ทำในประเทศไทย หรือ เนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือ เนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย ต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ ไม่ว่าเงินได้นั้น จะจ่ายในหรือ นอกประเทศ

ผู้อยู่ในประเทศไทยมีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษี ที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากเจ้าหน้าที่งาน หรือ กิจการที่ทำในต่างประเทศ หรือ เนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศต้องเสียภาษีเงินได้ตามบทบัญญัติในส่วนนี้ เมื่อนำเงินได้พึงประเมินนั้นเข้ามาในประเทศไทย

ผู้ใดอยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลาหนึ่ง หรือ หลายช่วงระยะเวลาทั้งหมดถึง 180 วัน ในปีภาษีใด ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย

ดังนั้นการที่ชาวต่างชาติเข้ามาทำ You Tube มารับจ้างรีวิวสินค้าในไทย ถือว่ามีรายได้ตามมาตรา 40 จากหน้าที่การงาน หรือ กิจการที่ทำในไทย หากได้รับเป็นค่ารีวิวสินค้าหรือการโชว์ตัวตามงานต่างๆ ถือเป็นเงินได้ 40 (2) ซึ่งคำนวณภาษีแบบอัตราก้าวหน้า คือ
Tax Youtuber Content Creator
เช่น หากมีรายได้จากการรีวิวสินค้า 2,000,000 บาท จะเสียภาษีอยู่ที่อัตรา 25 %

หากได้รับส่วนแบ่งจากค่าโฆษณา หรือ ขายสินค้าทางออนไลน์ ที่เป็นสินค้าของตนเอง หรือ งาน Event พรีเซนเตอร์ ที่มีการแสดงร่วมด้วย ถือเป็นเงินได้ 40(8) โดยสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ตามจริง หรือ อัตราเหมา เช่น

ส่วนแบ่งจากค่าโฆษณาหักค่าใช้จ่ายตามจริง

ขายสินค้าออนไลน์
• ไม่ได้เป็นผู้ผลิต หักอัตราเหมา 60%
• เป็นผู้ผลิตหักตามจริง

งาน Event พรีเซนเตอร์ ที่มีการแสดงร่วมด้วย
• เงินได้ส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท หักอัตราเหมา 60 %
• เงินได้ส่วนที่เกิน 300,000 บาท หักอัตราเหมา 40% การหักค่าใช้จ่าย ตาม (1) และ (2) รวมกันต้องไม่เกิน 600,000 บาท

ดังนั้นจะเห็นว่าถ้ารับเงินได้ในนามบุคคลธรรมดา จะเสียภาษีเยอะมากแต่ทั้งนี้ ต้องดูอนุสัญญาภาษีซ้อน (DTA) แต่ละประเทศด้วย

ส่วนใหญ่จึงเห็นว่าชาวต่างชาติที่มีรายได้ดังกล่าว นิยมจดบริษัทในไทย เพื่อจะช่วยลดภาระภาษีลงได้ เพราะหากรับเงินในนามบริษัท ก็จะเสียภาษีสิ้นปีอยู่ที่ 20

การเสียภาษีสำหรับการจ่ายเงินได้ให้ชาวต่างชาติที่เข้ามาและไม่ได้เข้ามาทำงานในไทย

• Update การเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ใหม่ กรณีมีเงินได้จากต่างประเทศเข้ามาในไทยต้องเสียภาษี
• หลักการจัดเก็บภาษีของชาวต่างชาติ
• การคำนวณภาษีของพนักงานชาวต่างชาติและการใช้อนุสัญญาภาษีซ้อน
• การให้สวัสดิการพนักงานกับชาวต่างชาติแตกต่างจากพนักงานทั่วไป มีผลกับการเสียภาษีอย่างไร
• การขอหนังสือรับรองการเสียภาษีให้ชาวต่างชาติ
• การยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีของชาวต่างชาติ
• บทกำหนดโทษ กรณีไม่ยื่นแบบ ยื่นไม่ครบ หรือ เสียภาษีไม่ถูกต้อง

การทำคอนเทนต์บนโลกออนไลน์เป็นอาชีพที่น่าสนใจ แต่ก็มาพร้อมกับภาระภาษีที่ต้องรับผิดชอบ การทำความเข้าใจกฎหมายภาษีจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้คุณสามารถบริหารจัดการรายได้และธุรกิจของคุณได้อย่างราบรื่น

สำรองที่นั่ง www.dst.co.th โทร 02-555-0700 กด 1

ดูข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกับเงินได้และภาษีชาวต่างชาติ
เงินได้ของชาวต่างชาติ เสียภาษีอย่างไร ?

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?