28 ตุลาคม 2565
สำหรับผู้มีเงินพึงประเมินที่ต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดา สามารถนำค่าลดหย่อนต่าง ๆ มาหักลดก่อนนำไปคำนวณรายได้สุทธิ (คลิก) เพื่อชำระภาษีประจำปี โดยในปี 2564 นี้ มีรายการที่นำมาใช้ลดหย่อน สรุปได้ดังต่อไปนี้
ค่าลดหย่อน : ภาษีส่วนตัวและครอบครัว คำนวณภาษีเบื้องต้น คลิก !!
1. ผู้มีเงินได้
• ลดหย่อนได้ 60,000 บาท
2. คู่สมรส
• คู่สมรสจะต้องไม่มีรายได้ และจดทะเบียนสมรส ตามกฎหมาย ลดหย่อนได้ 60,000 บาท
• เบี้ยประกันชีวิตคู่สมรส อายุกรมธรรม์ 10 ปีขึ้นไป ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
2. บุตร
• บุตรคนแรก ลดหย่อนได้ 30,000 บาท/คน
• บุตรคนที่ 2 ขึ้นไป (เกิดตั้งแต่ปี 61) ลดหย่อนได้ คนละ 60,000 บาท
• บุตรบุญธรรม ลดหย่อนได้ 30,000 บาท/คน
• ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร ลดหย่อนได้ไม่เกิน 60,000 บาท
4.บิดามารดา
• ค่าเลี้ยงดู ลดหย่อนได้ 30,000 บาท/คน โดยบิดามารดาต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป รายได้ทั้งปีไม่เกิน 30,000 บาท
• ค่าเบี้ยประกันสุขภาพ รวมกันลดหย่อนได้ไม่เกิน 15,000 บาท
5. ค่าเลี้ยงดูคนพิการหรือทุพพลภาพ
• ลดหย่อนได้ 60,000 บาท/คน
ค่าลดหย่อน : ประกัน การออม การลงทุน คำนวณภาษีเบื้องต้น คลิก !!
1. ค่าเบี้ยประกัน
• เบี้ยประกันชีวิต อายุกรมธรรม์ 10 ปีขึ้นไป ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
• เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท
• เบี้ยประกันชีวิตและเบี้ยประกันสุขภาพ รวมกันต้องไม่เกิน 100,000 บาท
2. ประกันสังคม
• ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 9,000 บาท
• ม.33 ไม่เกิน 5,100 บาท
• ม.39 ไม่เกิน 3,483 บาท
• ม.40 ไม่เกิน 700-3,000 ตามที่จ่ายจริง
3. เงินสะสมกองทุนต่าง ๆ (รวมกันไม่เกิน 500,000 บาท)
• กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) ลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
• กองทุน กบข. ลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
• กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน ลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
• กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ลดหย่อนได้ไม่เกิน 13,200 บาท
• เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
• หน่วยลงทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
• หน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
4. อสังหาริมทรัพย์
• ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
ค่าลดหย่อน : การบริจาค คำนวณภาษีเบื้องต้น คลิก !!
1. เงินบริจาคทั่วไป
• ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อน
2. เงินบริจาคสนับสนุนการศึกษาและกีฬา
• ลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อน
3. เงินบริจาคให้กับพรรคการเมือง
• ลดหย่อนได้ ไม่เกิน 10,000 บาท
ค่าลดหย่อน : สิทธิประโยชน์อื่น ๆ คำนวณภาษีเบื้องต้น คลิก !!
1. ค่าธรรมเนียมจากการรับชำระด้วยบัตรเดบิต
• ลดหย่อนได้ เพิ่ม 1 เท่า ตามที่จ่ายจริง
2. ลงทุนธุรกิจ Social Enterprise
• ลดหย่อนได้ ตามเท่าที่จ่ายจริง รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท
พร้อมโปรแกรมคำนวณภาษีเบื้องต้น คลิก !!
ที่จะช่วยคุณจัดการเรื่องภาษีได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น