การบอกเลิกสัญญาจ้าง คืออะไร

10 กรกฎาคม 2567

การบอกเลิกสัญญาจ้าง

ผู้มีสิทธิ บอกเลิกสัญญาจ้าง

นายจ้าง และ ลูกจ้าง เป็นผู้มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้าง ซึ่งสามารถทำได้โดยการแสดงเจตนาประสงค์ยุติความเป็นนายจ้างลูกจ้าง
เว้นแต่กรณีตามมาตรา 583 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

บอกเลิกสัญญาจ้าง

การบอกกล่าวเลิกสัญญาจ้างกรณีสัญญาจ้างแรงงานมีกำหนดระยะเวลา

เมื่อครบกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้าง ความเป็นนายจ้างลูกจ้างจะสิ้นสุดลง โดยไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

กรณีสัญญาจ้างแรงงานไม่มีกำหนดระยะเวลา (รวมถึงสัญญาจ้างทดลองงาน)

ฝ่ายที่ประสงค์เลิกสัญญาจ้าง ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดการจ่ายค่าจ้าง
โดยไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเกิน 3 เดือน
– การบอกเลิกสัญญาจ้าง ทำได้ 2 วิธี คือ
1. บอกเลิกสัญญาจ้างเป็นหนังสือ
2. บอกเลิกสัญญาจ้างด้วยวาจา

วิธีการบอกเลิกสัญญาจ้างกรณีนายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้าง สามารถทำได้ 2 วิธี

1. นายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า และให้ลูกจ้างทำงานต่อไปจนครบระยะเวลาที่แจ้งสิ้นสุดสัญญาจ้าง และต้องจ่ายค่าชดเชยตามอายุงานของลูกจ้าง
2. เมื่อบอกเลิกสัญญาจ้างแล้ว สามารถให้ลูกจ้างออกจากงานได้ทันที แต่ต้องจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

กรณีลูกจ้างเป็นฝ่าย บอกเลิกสัญญาจ้าง

1. กรณีลูกจ้างแจ้งล่วงหน้า และทำงานต่อไปจนครบระยะเวลาที่แจ้งสิ้นสุดสัญญาจ้าง
2. กรณีที่ลูกจ้างไม่แจ้งล่วงหน้าและออกจากงานทันที
อาจเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงาน โดยหากนายจ้างฟ้องเรียกค่าเสียหาย ลูกจ้างต้องรับผิดชอบ
หมายเหตุ : นายจ้างยังคงต้องจ่ายค่าจ้างตามที่ตกลงไว้

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?