ลักทรัพย์นายจ้าง VS ยักยอกทรัพย์นายจ้าง ต่างกันอย่างไร ?

1. ยักยอกทรัพย์นายจ้าง  

ลูกจ้างต้องมีตำแหน่งหน้าที่ที่จะต้อง ครอบครองทรัพย์ ของนายจ้างไว้ และเบียดบังหรือนำทรัพย์นั้นไป

2. ลักทรัพย์นายจ้าง  

ลูกจ้างไม่มีสิทธิหน้าที่ ในการ ครอบครองทรัพย์ของนายจ้างแต่ลักเอาไป

ลักทรัพย์นายจ้าง ต้องรับโทษหนักขึ้น เนื่องจากเป็นลูกจ้าง แล้วยังเอาไปซึ่งทรัพย์ของนายจ้าง เป็นเหตุฉกรรจ์

– กรณีลักทรัพย์

คือ ขโมยของคนอื่น หรือ ของที่คนอื่นเป็นเจ้าของร่วม มาตรา 334

โทษ จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท

– กรณีลักทรัพย์นายจ้าง

อัตราโทษจะเพิ่มขึ้น มาตรา 335 (11)

โทษ จำคุก 1 – 5 ปี ปรับตั้งแต่ 20,000 – 100,000 บาท

——————————————————————————————————————

คดียักยอกทรัพย์ เป็นความผิดอันยอมความได้แต่ ลักทรัพย์นายจ้างเป็นคดีอาญาแผ่นดิน ยอมความไม่ได้

——————————————————————————————————————

ยักยอกทรัพย์

คือ ขโมยของคนอื่นที่อยู่ในความครอบครอง หรือ ที่คนอื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย มาตรา 352

โทษ จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท

——————————————————————————————————————

การยักยอกทรัพย์ หากไม่มีหน้าที่ในการครอบครองทรัพย์นั้นไว้ก็ไม่ใช่ยักยอก

——————————————————————————————————————

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?