ปลดล็อค “กัญชง กัญชา” ตั้งแต่ 9 มิ.ย. 65
การปลูก
ประชาชนปลูกได้โดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในครัวเรือน เพียงแค่แจ้งข้อมูล ผ่าน 2 ช่องทาง คือ
1. http://plookganja.fda.moph.go.th
2. Application “ปลูกกัญ” (ใช้ได้ตั้งแต่วันที่ 9 มิ.ย. 65)
แต่หากเป็นการปลูกเชิงพาณิชย์ ต้องขออนุญาต
การนำเข้าสารสกัด
ต้องขออนุญาต ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด ยกเว้นเป็นการนำเข้าเพื่อการศึกษาวิจัย / เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องมือแพทย์
การนำเข้าสารสกัด เพื่อมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์
• กรณีนำมาผลิตเป็นอาหาร ไม่สามารถนำเข้าได้ เนื่องจากจัดเป็นอาหารห้ามนำเข้า
• กรณีนำมาผลิตเป็นเครื่องสำอาง ไม่สามารถนำเข้าได้ เนื่องจากเป็นวัตถุดิบที่ห้ามนำเข้า
• กรณีนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่น ให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์นั้นๆ ซึ่งหากได้รับอนุญาตให้ผลิตถูกต้องตามกฎหมายแล้ว การพิจารณาตรวจสอบการนำเข้าเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์นั้นๆ ก็สามารถดำเนินการได้เช่นเดียวกัน
การนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสม
ไม่ต้องขออนุญาตนำเข้าตามประมวลกฎหมายยาเสพติด แต่ให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์สุขภาพนั้นๆ โดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์การใช้งานบนฉลากผลิตภัณฑ์ หรือความมุ่งหมายของผู้ผลิต ดังนี้
• กรณีอาหาร จัดเป็นอาหารห้ามนำเข้า ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 424 พ.ศ.2564
• กรณีเครื่องสำอาง จัดเป็นเครื่องสำอางที่ห้ามนำเข้าตามประกาศฯ
• กรณีการนำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่น เช่น ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์นั้น
การจำหน่าย
• การจำหน่ายส่วนของพืช ไม่ต้องขอรับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด
• การจำหน่ายเมล็ดพันธุ์และกิ่งพันธุ์ ต้องขอรับอนุญาต ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518
• การจำหน่ายสารสกัดที่ได้รับอนุญาตให้สกัดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด
– กรณีเป็นสารสกัดที่มี THC ไม่เกิน 0.2 % ไม่ต้องมีใบอนุญาต
– กรณีสารสกัดที่มี THC เกิน 0.2 % ต้องมีใบอนุญาตจำหน่าย และผู้ซื้อต้องมีใบอนุญาตเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษด้วย
• การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์นั้น