ผู้ประกอบการทราบหรือไม่? คุณสามารถขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ตามสิทธิที่กฎหมายกำหนด ไม่ว่าจะเป็นการขอคืนภาษีในรูปแบบเครดิตภาษี เพื่อนำไปใช้ในเดือนถัดไป หรือขอคืนเป็นเงินสด ก็สามารถดำเนินการได้ หากปฏิบัติตามเงื่อนไขและแนวทางที่กรมสรรพากรกำหนดอย่างถูกต้อง ในบทความนี้ ได้สรุปขั้นตอนสำคัญ แบบคำร้องที่ต้องใช้ เอกสารประกอบ และช่องทางในการยื่นคำร้อง เพื่อให้คุณดำเนินการได้สะดวกและมั่นใจยิ่งขึ้น
คำร้องที่ใช้ในการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
1. ขอคืน เป็นเครดิตภาษี เพื่อยกไปใช้ในเดือนภาษีถัดไป ยื่นแบบ ภ.พ. 30 กรณีการยื่นแบบปกติเท่านั้น กรณียื่นแบบขอคืนเพิ่มเติม ให้ขอคืนเป็นเงินสด
2. ขอคืน เป็นเงินสด ให้ขอคืนด้วยแบบแสดงรายการต่อไปนี้
• แบบ ภ.พ. 30
– ลงลายมือชื่อ ในช่อง “การขอคืนภาษี” และ “คำรับรอง” ท้ายแบบ ภ.พ. 30
• แบบ ค.10 เฉพาะกรณีต่อไปนี้
– ขอคืนเป็นเครดิตไว้ แต่ไม่ได้นำไปใช้ในเดือนภาษีถัดไป
– ไม่ลงลายมือชื่อในแบบ ภ.พ. 30
– ยื่นแบบ ภ.พ. 30 โดยแสดงยอดขาย และยอดซื้อไว้ถูกต้อง แต่แสดงภาษีขายไว้เกิน หรือ ภาษีซื้อไว้ขาด
– ยื่นแบบ ภ.พ. 30 ชำระภาษีไว้ซ้ำ
– ไม่มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.พ. 30 แต่ได้ชำระภาษีไว้
– กรณีอื่น ที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ในการขอคืนด้วยแบบ ภ.พ. 30
ระยะเวลาที่มีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภายใน 3 ปี นับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี สำหรับเดือนภาษีนั้น หรือ นับแต่วันที่ชำระภาษี
ช่องทางในการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
1. ยื่นแบบคำร้องขอคืนผ่านอินเทอร์เน็ต ผ่าน E-FILING ที่ https://efiling.rd.go.th/ ภายในวันที่ 23 ของเดือนถัดไป (ขยายเวลาการยื่นแบบ ภ.พ. 30 ผ่านอินเทอร์เน็ต ถึงวันที่ 31 ม.ค. 70)
2. ยื่นคำร้องขอคืนด้วยแบบกระดาษ ให้ยื่นคำร้องแยกเป็นรายสถานประกอบการ เว้นแต่ ได้รับอนุมัติให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี และชำระภาษีมูลค่าเพิ่มรวมกัน
• กรณีขอคืนด้วยแบบ ภ.พ. 30
– ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาที่ได้รับอนุมัติให้ยื่นแบบรวม ฉบับปกติ ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
• กรณีขอคืนด้วย แบบ ค.10
– ไม่ลงลายมือชื่อใน ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือ กองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ (เฉพาะกรณีรายที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่)
ตัวอย่างเอกสารที่ควรจัดเตรียม
เอกสารทั่วไป
1) สำเนาใบกำกับภาษีขาย และต้นฉบับใบกำกับภาษีซื้อ
2) รายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ
3) รายงานสินค้าและวัตถุดิบ (ยกเว้นกิจการให้บริการ)
4) แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เช่น ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.2, ภ.ง.ด.3
5) หลักฐานการบันทึกบัญชี
6) หลักฐานการรับ – จ่ายเงิน เช่น รายการเดินบัญชี (Statement) ฯลฯ
7) หลักฐานการมีเงินได้ หรือค่าใช้จ่ายอื่น (ถ้ามี)
*กรณีข้อมูลเอกสารถูกจัดเก็บในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ และจัดส่งให้กรมสรรพากรแล้ว ไม่ต้องส่งมอบให้เจ้าหน้าที่
เอกสารตามธุรกรรมของกิจการ
ธุรกิจส่งออกสินค้า
1) สำเนาใบขนสินค้าขาออก
2) หลักฐานการชำระเงิน เช่น
– หลักฐานการเปิด L/C (Letter of Credit) หรือ
– หลักฐานการจัดทำ T/T (Telex Transfer)
ธุรกิจโรงแรม
1) บัตรทะเบียนผู้พักโรงแรม (ร.ร.3) และ ทะเบียนผู้พักในโรงแรม (ร.ร.4จ)
2) สัญญาการเช่า หรือ ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์
3) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กรมสรรพากร โทร 1161
ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง
1) หลักฐานการรับจ้าง เช่น สัญญารับจ้าง, Bill of Quantities (BoQ) เป็นต้น
2) สัญญาจ้างเหมา หรือ สัญญาก่อสร้าง
ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์
1) สัญญาการเป็นตัวแทนจำหน่าย
2) สัญญาจองรถยนต์ หรือ ใบสั่งจองรถยนต์
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กรมสรรพากร โทร 1161
อ่านบทความอื่นๆ
เปิดวิธี ขอคืนภาษี ยื่นขอคืนได้เมื่อไหร่ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ?
ประเด็นทางภาษี สรรพากรมักตรวจสอบ
พันยอดภาษีซื้อ คืออะไร? มีความเกี่ยวข้องกับภาษีซื้อ และ ภาษีขาย อย่างไรบ้าง ?