ใบเตือนจากนายจ้าง แบบไหนมีผลทางกฎหมาย

ใบเตือนจากนายจ้าง แบบไหนมีผลทางกฎหมาย

ใบเตือน อาจเป็นเอกสารที่ดูเรียบง่าย แต่จริงๆ แล้วมีผลทางกฎหมายที่สำคัญ และอาจส่งผลกระทบต่อสถานการณ์จ้างงานได้ ในบทความนี้ เราจะพาคุณไปทำความเข้าใจว่าการออกใบเตือนอย่างถูกต้องตามกฎหมายมีเงื่อนไขอะไรบ้าง อะไรที่ทำให้ใบเตือนมีผลบังคับ และมีความสำคัญแค่ไหนในการปกป้องทั้งสิทธิของนายจ้างและลูกจ้าง

ใบเตือนคืออะไร

คือ หนังสือที่ออกโดยนายจ้าง สำหรับตักเตือนลูกจ้าง ที่ฝ่าฝืนข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้าง เพื่อแจ้งให้ลูกจ้างรับทราบ และไม่ให้ทำความผิดซ้ำอีก และให้เป็นมาตรฐานในการปฏิบัติตามระเบียบของลูกจ้างรายอื่น

อายุของใบเตือน

หากนายจ้างมีใบเตือนแก่ลูกจ้างแล้ว แต่ลูกจ้างยังคงทำความผิดเดิมซ้ำ นายจ้างสามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ซึ่งกฎหมายคุ้มครองแรงงานได้กำหนดอายุของใบเตือนไว้ 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ลูกจ้างทำความผิด

ใบเตือนที่มีผลทางกฎหมาย

ใบเตือนที่มีผลทางกฎหมาย จะต้องประกอบด้วย
• ข้อความที่ระบุถึงความผิดของลูกจ้าง
• ข้อความที่ห้ามไม่ให้ลูกจ้างกระทำความผิดซ้ำอีก
หากในใบเตือนไม่มีข้อความดังกล่าว แม้ลูกจ้างจะทำความผิดซ้ำอีกภายใน 1 ปี นายจ้างก็ไม่สามารถเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้

ผู้ที่สามารถออกใบเตือน

ผู้ออกใบเตือนต้องมีอำนาจหรือได้รับมอบอำนาจจากนายจ้างเพื่อออกใบเตือนแก่พนักงานเท่านั้น ซึ่งในทางปฏิบัติ หัวหน้างานหรือหัวหน้าแผนกจะเป็นผู้ออกใบเตือน แล้วให้กรรมการของบริษัทหรือเจ้าของกิจการเป็นผู้ลงนามอนุมัติ ซึ่งถือเป็นการรับรองและทำให้ใบเตือนมีผลใช้บังคับตามกฎหมาย

 

การออกใบเตือนอย่างถูกต้องและตามกฎหมาย ไม่ใช่แค่เพียงเอกสารเตือนความผิด แต่เป็นเครื่องมือในการจัดการที่โปร่งใสและมีมาตรฐานที่ช่วยให้นายจ้างและลูกจ้างรักษาความเป็นธรรมต่อกันได้ ใบเตือนที่ทำถูกต้องจึงเป็นทั้งการป้องกันปัญหาในองค์กรและการรักษาสิทธิของทั้งสองฝ่าย หวังว่าคุณจะได้ข้อคิดและความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของใบเตือนในมุมกฎหมายมากขึ้น

 

อ่านบทความนี้เพิ่มเติมใน
HR Society Magazine ฉบับตุลาคม 2567
พร้อมบทความที่น่าสนใจ

 

HR Society Magazine ฉบับตุลาคม 2567

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?