25 พฤศจิกายน 2562
บริษัท หรือ เจ้าของร้าน ที่เปิดให้ลูกค้าใช้ Free Wi-Fi กฎหมายถือว่าเป็น “ผู้ให้บริการ”
ผู้ให้บริการ จะต้องเก็บข้อมูลการใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต เรียกว่า “ข้อมูลการจราจรคอมพิวเตอร์(Logfile)” ไว้เป็นเวลาขั้นต่ำ 90 วัน และสูงสุด 2 ปี นับตั้งแต่มีการใช้งานระบบ และจะต้องส่งข้อมูลให้เจ้าหน้าที่ ภายใน 7-15 วัน หากเจ้าหน้าที่ร้องขอ *อ้างอิงตาม มาตรา 26 พ.ร.บ.คอมฯ พ.ศ. 2560
ข้อมูลการจราจรคอมพิวเตอร์ คืออะไร?
คือ ข้อมูลเส้นทางการใช้งานอินเทอร์เน็ต หรือการเชื่อมต่อสื่อสารกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมถึงมือถือและแท็บเล็ต
ข้อมูลการจราจรคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยข้อมูลอะไรบ้าง?
1. ระบุว่าใครเป็นผู้ใช้งาน
2. ระบุว่าใช้งานจากเครื่องไหน
3. ระบุว่าใช้งานวันที่เท่าไหร่ และช่วงเวลาใด 4. ระบุว่าใช้งานจากที่ใด(IP Address)
5. ระบุว่าไปเข้าใช้งานที่เว็บไหน
6. ระบุว่าเส้นทาง
7. ระบุว่าไปทำอะไรที่ปลายทาง
ผู้ให้บริการต้องโทษปรับกว่า 700,000 บาท
• หากไม่มีเก็บข้อมูลการจราจรคอมพิวเตอร์ หรือไม่สามารถระบุตัวตนผู้ใช้งานได้จะต้องระวางโทษปรับสูงสุด 500,000 บาท
• หากไม่ส่งข้อมูลการจราจรคอมพิวเตอร์ให้ตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่จะต้องระวางโทษปรับสูงสุด 200,000 บาท และปรับเป็นรายวัน
วันละ5,000 บาท จนกว่าจะทำให้ถูกต้อง
*อ้างอิงตาม มาตรา 26 และ มาตรา 27 พ.ร.บ.คอมฯ พ.ศ. 2550
พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตที่เจ้าของร้าน/บริษัท ต้องรับโทษ หากระบุตัวตนผู้ใช้งานไม่ได้
• ผู้ใช้แฮ็กระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่น
• ผู้ใช้โพสข้อมูลอันเป็นเท็จ บิดเบือน ข่าวปลอม
• ผู้ใช้โพสข้อมูลที่ลามก อนาจาร
• ผู้ใช้นำเข้าที่เป็นภัยต่อความมั่นของของประเทศ
• ผู้ที่แชร์ข้อมูลต่าง ๆ ในข่ายข้างต้น
การเก็บข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ (อย่างง่าย)
ข้อมูลจากภายใน | ข้อมูลจากภายนอก |
– ชื่อ-นามสกุล | – IP ต้นทาง/ปลายทาง |
– รหัสเครื่องที่ใช้(MAC) | – เส้นทางในการดูข้อมูล |
– เวลาที่ใช้ | – เวลาที่ใช้งาน |
เครื่องมือที่ใช้ | เครื่องมือที่ใช้ |
– ระบบสำหรับยืนยันตัวตน | – อุปกรณ์ Firewall |
– อุปกรณ์ Logger | – อุปกรณ์ Logger |
เคสตัวอย่าง การกระทำความผิดตามพ.ร.บ.คอมฯ ที่ร้านกาแฟ
• นาย A เข้าไปนั่งในร้านกาแฟแห่งหนึ่ง ใช้อินเทอร์เน็ตที่ร้าน เข้าเว็บไซต์และเผยแพร่คลิปลามกของดารา
• ตำรวจรับแจ้งเหตุ และสืบทราบว่า การโพสภาพดังกล่าวมาจาก IP Address ของร้านกาแฟ ตำรวจขอข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากร้านกาแฟ
• ร้านกาแฟไม่ได้มีการเก็บข้อมูลดังกล่าว จึงไม่สามารถส่งข้อมูลให้ตำรวจได้
• กรณีนี้ ร้านกาแฟมีความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
ปี 2560 ต้องโทษปรับ
* อ้างอิง มีความผิด ตาม พ.ร.บ.คอมฯ พ.ศ. 2550 และ พ.ร.บ.คอมฯ พ.ศ. 2560
ขอคำปรึกษาปัญหาด้านการเก็บข้อมูลให้ถูกต้องตามพรบ.คอมฯ ฟรี
บริษัท ดีไอทีซี จำกัด
ผู้ให้บริการด้านเว็บไซต์และไอทีครบวงจร ในเครือบริษัท ธรรมนิติ จำกัด(มหาชน)
โทร. 02-555-0999 อีเมล : contact@ditc.co.th
—–
แหล่งที่มา : www.facebook.com/dharmnitigroup