13 มิถุนายน 2562
การหัก ณ ที่จ่ายตามกฎหมายไทยมีหลายอัตรามาก บางครั้งก็ทำให้เกิดความสับสน ตัวอย่างที่เห็นกันบ่อยๆ ก็คือ ‘ค่าเช่า’ กับ ‘ค่าบริการ’ ว่าจะมีหลักพิจารณาอย่างไร
หลักสำคัญในการพิจารณาว่าเป็น ‘ค่าบริการ’ หรือ ‘ค่าเช่า’ ซึ่งจะหักภาษี ณ ที่จ่ายต่างกันไปด้วยก็คือ
ค่าบริการ : อัตราหัก ณ ที่จ่าย 3 % ตามประมวลรัษฎากรหมายถึง “การกระทำใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งไม่ใช่เป็นการขายสินค้า”
ค่าเช่า : อัตราหัก ณ ที่จ่าย 5 % ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม.553 ระบุว่าต้อง “มีการส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าให้กับผู้เช่า และผู้เช่าจะต้องดูแลทรัพย์สินที่เช่าเสมือนเป็นทรัพย์สินของตนเอง ทั้งต้องบำรุงรักษารวมถึงการซ่อมแซมด้วย”
ฉะนั้นต้องแยกว่า การที่ต้องมอบทรัพย์สินให้กับผู้เช่า และเมื่อหากต้องมีการซ่อมแซมในขณะที่เช่า ผู้เช่าต้องเป็นผู้ที่รับผิดชอบ รายได้ที่เกิดไม่ถือว่าเป็น ค่าบริการ แต่เข้าหลักเกณฑ์ของการเป็น ค่าเช่า ต้องหัก ณ ที่จ่าย 5 %
รู้หลักเกณฑ์แล้วคราวนี้ทั้งนักบัญชี เจ้าของธุรกิจและผู้เกี่ยวข้องคงหายสับสนกันแล้วนะคะ
เรื่อง : ทีมวิชาการ บริษัท สำนักพัฒนาการบริหารธรรมนิติ จำกัด