บริหารลูกหนี้อย่างไร ไม่ให้หนี้เป็นศูนย์
1. ติดตามการชำระหนี้
ต้องติดตามการชำระหนี้อย่างสม่ำเสมอ เช่น การทำรายงานการรับชำระหนี้, รายงานการแยกประเภทลูกหนี้, รายงานการวิเคราะห์อายุลูกหนี้ และอาจต้องมีกลยุทธ์อื่นเพิ่มเติม เช่น ให้ฝ่ายขายไปพบเป็นประจำและต่อเนื่อง
2. ทวงถามหนี้ให้ถูกวิธี
หลีกเลี่ยง : เลี่ยงวิธีการทวงถามที่อาจทำให้ลูกหนี้รู้สึกเหมือนถูกคุกคาม, เสียดสี, ให้ร้าย
ควรทำ : ใช้การส่งหนังสือสรุปยอด แจ้งข้อความการครบกำหนดชำระล่วงหน้า เพื่อเป็นการช่วยเตือนเรื่องกำหนดเวลา แทนการทวงถาม จะช่วยลดโอกาสถูกเบี้ยวหนี้และลดความเข้าใจผิดต่อกันได้
3. ปรับนโยบายด้านเครดิตให้ทัน
ต้องเข้าใจความเสี่ยงทางด้านเครดิตของลูกหนี้ว่าเกิดจากปัจจัยใด เพื่อปรับนโยบายของกิจการต่อลูกหนี้รายตัวให้ทันท่วงที หากมีแนวโน้มว่าลูกหนี้จะมีปัญหาในอนาคต อาจทบทวนเครดิตทางการค้าให้สอดรับกับความเสี่ยงของลูกหนี้ที่เปลี่ยนไป
4. ให้ความสำคัญต่อรายงานข้อมูล
ควรทำรายงานการชำระหนี้ให้มีข้อมูลเพียงพอ ทั้งในด้านเอกสารและการรายงานมูลค่าที่แท้จริงของลูกหนี้ ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน NPAEs หรือ PAEs เพื่อให้ฝ่ายบริหารวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง ในการจัดการลูกหนี้ได้อย่างแม่นยำ และนำไปปรับตัวได้ทันท่วงที