18 เมษายน 2563
จาก ภาษีบำรุงท้องที่ และ ภาษีที่ดินและโรงเรือน จะรวมกันเป็น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งคาดว่าจะเริ่มใช้ในปี 2562 เรามาดูกันดีกว่าครับว่า มีข้อกำหนด และอัตราภาษีอะไรที่เปลี่ยนไปบ้าง เพื่อที่จะได้เตรียมรับมือ วางแผนกันให้ถูกนะครับ
1. ภาษีบำรุงท้องที่
ภาษีบํารุงท้องที่จัดเก็บจาก
- ที่ดินที่ใช้ประโยชน์เพื่อปลูกบ้านที่อยู่อาศัย ทําการเกษตร
- ที่ดินว่างเปล่า
ฐานภาษี ใช้ราคาปานกลางที่ดินตามกำหนดเป็นราคาประเมิน
- ต่ำสุดไร่ละ 1,600 บาท อัตราภาษีไร่ละ 8 บาท
- สูงสุดไร่ละ 9,000,000 บาท อัตราภาษีไร่ละ 22,495 บาท
- กรณีที่ดินที่ใช้ประกอบกสิกรรมประเภทไม้ล้มลุก
– ไม่ใช่เจ้าของที่ดิน เสียภาษีครึ่งหนึ่งของอัตราภาษี
– เจ้าของที่ดินทำเอง เสียภาษีสูงสุดไม่เกินไร่ละ 5 บาท
- กรณีที่ดินทิ้งร้างว่างเปล่า เสียภาษีเพิ่มขึ้น 1 เท่าของอัตราภาษี
*อัตราภาษี ตามบัญชีอัตราภาษีบํารุงท้องที่พ.ร.บ.ภาษีบํารุงท้องที่ พ.ศ. 2508
2.ภาษีที่ดินและโรงเรือน
ภาษีที่ดินและโรงเรือน จัดเก็บจาก
- เจ้าของโรงเรือน อาคาร หรือ สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นซึ่งให้เช่า หรือที่ดินเพื่อเช่า หรือประกอบกิจการที่สร้างรายได้ให้กับเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้
อัตราภาษี คือ 12.5% ต่อปีของค่ารายปี
- ค่ารายปี คือ จำนวนเงินที่ทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ใน 1 ปี
ในกรณีให้เช่า ให้ถือว่าค่าเช่าคือค่ารายปี หรือถ้าไม่สามารถประเมินเป็น
จำนวนเงินได้ อาจเทียบเคียงกับทรัพย์สินในบริเวณใกล้เคียง - ค่าภาษี = ค่ารายปี x 12.5%
*อัตราภาษี ตามพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและโรงเรือน พ.ศ. 2475
3. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง’62
ภาษีบำรุงท้องที่ และภาษีที่ดินและโรงเรือน เปลี่ยนชื่อเป็น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ปรับอัตราใหม่เพื่อ…
– ลดความเหลื่อมล้ำ
– ลดการกักตุนที่ดินไว้เก็งกำไร
– กระจายการถือครองที่ดิน
– กระตุ้นการใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์
จัดเก็บภาษีจาก…
– ที่ดินเกษตรกรรม
– บ้านพักอาศัย
– ที่ดินพาณิชยกรรม
– ที่ดินรกร้างว่างเปล่า
4.อัตราภาษีที่ดินเกษตรกรรม
*ยกเว้นภาษีที่ดินเกษตรกรรมที่มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท
5.อัตราภาษีบ้านพักอาศัย
6.อัตราภาษีที่ดินพาณิชยกรรม
*เพดานภาษีที่ดินสำหรับพาณิชยกรรมอยู่ที่ 1.2%
7.อัตราภาษีที่ดินรกร้างว่างเปล่า
*เพดานภาษีที่ดินรกร้างว่างเปล่าอยู่ที่ 1.2% (บวกเพิ่ม 0.3% ทุก 3 ปี สูงสุดไม่เกิน 3%)