รู้จักกับมาตรการภาษี “บัญชีชุดเดียว”

03 ตุลาคม 2563

วันนี้เรามาดูกันดีกว่าครับว่า การทำบัญชีชุดเดียว มีประโยชน์และวิธีการจัดทำ อย่างไรบ้าง เพราะว่าหากไม่ทำวันนี้วันหน้าก็ยังต้องทำตามนโยบายนี้อยู่ดี

จากที่ภาครัฐได้ออกมาตรการบัญชีชุดเดียวออกมา มีทั้งประโยชน์ที่ได้เพิ่มเติม หรือนโยบายส่งเสริมอื่นๆ จากภาครัฐ แต่อาจจะยังไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร อาจเป็นเพราะข้อมูลหลักฐานทุกอย่าง ต้องทำให้ถูกต้อง เพื่อสะท้อนสภาพความเป็นจริง

โดยผู้ประกอบการทั้งหลาย สามารถเข้าไปจดทะเบียนได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร คือ http://www.rd.go.th/ หรือ https://edss.sys.rd.go.th/sme/

บัญชีชุดเดียว คืออะไร ?

มาตรการบัญชีชุดเดียว เป็นแนวทางจากภาครัฐที่สนับสนุนให้ผู้ประกอบการทั่วไปและผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดย่อม (SMEs) มีการจัดทำบัญชีและงบการเงินให้สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ โดยต้องยื่นคำร้องขอจดแจ้งบัญชีชุดเดียว ต่อกรมสรรพากรเพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษีในการยกเว้นและลดอัตราภาษี

ประโยชน์ของบัญชีชุดเดียว

  • ใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์และวางแผนดําเนินธุรกิจ
  • สร้างความน่าเชื่อถือและความเป็นมาตรฐานทางการเงิน
  • ได้สิทธิประโยชน์ลดอัตราภาษีและยกเว้นภาษีอากร
  • เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ
  • ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ธนาคารพาณิชย์จะพิจารณาการทำธุรกรรมทางการเงินหรืออนุมัติปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการจากบัญชีชุดเดียวที่ยื่นต่อสรรพากรเท่านั้น

กรณีจดแจ้งบัญชีชุดเดียว

การจัดทำบัญชีชุดเดียว

1.กิจการต้องมีผู้ทำบัญชี ทำหน้าที่ในการทำบัญชีนับแต่วันเริ่มทำบัญชีและควบคุมให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง

  • ต้องปิดบัญชีครั้งแรกภายใน 12 เดือน
  • ต้องทำการปรับปรุงบัญชีเมื่อพบข้อผิดพลาดทางบัญชี
  • ต้องจัดทำงบการเงินให้ได้รับการตรวจสอบและแสดงความคิดเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)

 ยกเว้น งบการเงินของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่มีทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท
สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท
แต่ต้องมีผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA) ตรวจสอบงบการเงิน

 

2.กิจการต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารบัญชีเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันปิดบัญชี

3.เอกสารประกอบการจัดทำบัญชีชุดเดียว

  • เอกสารประกอบการลงบัญชี ที่ใช้เป็นหลักฐานในการ
    ลงรายการในบัญชี เช่น หนังสือ หรือเอกสารใดๆ
  • บัญชี ประกอบด้วย

– บัญชีรายวัน (5 เล่ม : ซื้อ/ขาย/จ่าย/รับ/ทั่วไป)

– บัญชีแยกประเภท

– บัญชีสินค้า

– บัญชีอื่นๆตามความจำเป็นในการทำบัญชีของธุรกิจ

  • งบการเงิน ประกอบด้วย

– งบแสดงฐานะการเงิน (งบดุล)

– งบกำไรขาดทุน

– งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ

– หมายเหตุประกอบงบการเงิน

– งบกระแสเงินสด (ถ้ามี)

– งบการเงินรวม (ถ้ามี)

 

สรุปและรวบรวมหลักการ วิธีปฏิบัติทางการบัญชี เพื่อให้กิจการ SMEs

ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของกิจการ นักบัญชี หรือผู้สนใจ นำไปปฏิบัติได้อย่างเข้าใจ เพื่อการวางแผนธุรกิจและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ‼
สั่งซื้อหนังสือ ‘SMEs บัญชีเดียว’ ได้ที่ https://bit.ly/30hJiCa

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?