12 ตุลาคม 2563
นอกจากจะแนะนำขั้นตอนในการคำนวณภาษีบุุคคลธรรมดาแล้ว เรายังมีโปรแกรมคำนวณภาษีเบื้องต้นที่จะช่วยคุณวางแผนและลดความกังวลเรื่องภาษีมาฝากด้วยครับ
ใกล้สิ้นปีแบบนี้ถึงเวลาต้องเตรียมตัวเรื่องของภาษีบุคคลธรรมดากันอีกแล้ว หลายๆ คนบวกลบคิดภาษีเองด้วยความคล่องแคล่ว แต่ถ้าไม่ถนัดเรามีโปรแกรมคำนวณภาษีเบื้องต้นที่จะช่วยคุณวางแผนและลดความกังวลเรื่องภาษีไปได้ครับ
สามารถคลิกไปใช้โปรแกรมคำนวณภาษีเบื้องต้นได้ที่ http://dhg.ditc.cloudtax/
มารู้จักวิธีคำนวณภาษี
การคำนวณภาษีมี 3 ขั้นตอนสำคัญคือ
ขั้นตอนที่ 1 : รวมเงินได้พึงประเมิน (มาตรา 40 (1-8)) ประจำปี – ค่าใช้จ่าย
ขั้นตอนที่ 2 : นำเงินได้ที่ลบค่าใช้จ่ายค่าแล้ว – ค่าลดหย่อนต่างๆ = เงินได้สุทธิ
ขั้นตอนที่ 3 : นำเงินได้สุทธิ มาเทียบกับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้วคำนวณผล = ภาษีที่ต้องชำระประจำปี
1.เงินได้ทั้ง 8 ประเภท และการหักค่าใช้จ่าย
เงินพึงประเมินทั้ง 8 ประเภท (ตามมาตรา 40 (1) – (8) มีการหักค่าใช้จ่ายในอัตราแตกต่างกัน และมี 2 วิธีให้เลือกใช้
1.หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา
2.หักค่าใช้จ่ายตามจริง
เงินพึงประเมินทั้ง 8 ประเภท
เงินได้ประเภทที่ 1 : เงินได้จากการจ้างแรงงาน
เงินได้ประเภทที่ 2 : เงินได้จากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ เช่น ค่านายหน้า เบี้ยประชุม โบนัส
หักค่าใช้จ่ายเหมา 50 % แต่ไม่เกิน 100,000 บาท หากมีเงินได้ประเภท 1 และ 2 ให้นำมารวมกันแล้วหักค่าใช้จ่ายเหมา 50 % แต่เมื่อรวมแล้วไม่เกิน 100,000 บาท
ผู้ที่มีเงินได้เฉพาะประเภทที่ 1 ยื่น ภ.ด.ง. 91
เงินได้ประเภทที่ 3 : ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น
หักตามจริง หรือหักค่าใช้จ่ายเหมา 50 % แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
เงินได้ประเภทที่ 4 : ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น ฯลฯ เป็นต้น
หักค่าใช้จ่ายไม่ได้
เงินได้ประเภทที่ 5 : เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เงินหรือประโยชน์อย่างอื่น
หักตามจริง หรือหักค่าใช้จ่ายเหมา 10 – 30 % ขึ้นอยู่ประเภททรัพย์สิน
เงินได้ประเภทที่ 6 : เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
หักตามจริง หรือหักค่าใช้จ่ายเหมา 30 และ 60 %
เงินได้ประเภทที่ 7 : เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ
หักตามจริง หรือหักค่าใช้จ่ายเหมา 60 %
เงินได้ประเภทที่ 8 : เงินอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7
หักตามจริง หรือหักค่าใช้จ่ายเหมา 40 และ 60 %
ผู้ที่มีเงินได้อื่นๆ ร่วมด้วยคือประเภทที่ 1 – 8 ยื่น ภ.ด.ง. 90
2.ค่าลดหย่อนและยกเว้น
หลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว ให้นำค่าลดหย่อนและยกเว้นมาหักจากเงินได้ โดยมีการลดหย่อนอยู่ดังต่อไปนี้
ผู้มีเงินได้และครอบครัว
1.ผู้มีเงินได้
ลดหย่อนได้ 60,000 บาท
- คู่สมรส
- ค่าลดหย่อนคู่สมรส หากไม่มีเงินได้ลดหย่อนได้ 60,000 บาท แต่ถ้ามีเงินได้ทั้งคู่ ให้หักลดหย่อนรวมกันได้ไม่เกิน 120,000 บาท
- ค่าเบี้ยประกันชีวิตคู่สมรสที่อายุกรมธรรม์ 10 ปีขึ้นไป สำหรับคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท
3.บุตร
- ค่าลดหย่อนบุตรและบุตรบุญธรรม ลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท โดยหากเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายนำมาลดหย่อนได้ไม่จำกัดจำนวน แต่หากนำบุตรบุญธรรมมารวมลดหย่อนได้ไม่เกิน 3 คน
- ค่าคลอดบุตร นำมาลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 60,000 บาท
3.บิดามารดา
- ค่าอุปการะบิดามารดาของผู้มีเงินได้และคู่สมรส นำมาลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท โดยมีเงื่อนไขว่าต้องอายุ 60 ปีขึ้นไป และมีเงินได้พึงประเมินไม่เกิน 30,000 บาท
- ค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา ค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาของผู้มีเงินได้และคู่สมรส นำมาลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยมีเงื่อนไขว่าต้องบิดามารดาต้องมีเงินได้พึงประเมินไม่เกิน 30,000 บาท
- ค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือทุพพลภาพ
- ลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท
ค่าลดหย่อนอื่นๆ ของผู้มีเงินได้
5.ค่าเบี้ยประกันของผู้มีเงินได้
- ค่าเบี้ยประกันชีวิตอายุกรมธรรม์ 10 ปีขึ้นไปของผู้มีเงินได้ นำลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
- ค่าเบี้ยประกันสุขภาพ ค่าเบี้ยประกันสุขภาพผู้มีเงินได้ นำมาลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
- ทั้ง 2 ประเภทเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท
- 6. เงินสมทบกองทุนประกันสังคม
- ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง
- เงินซื้อกองทุนรวมระยะยาว LTF
- นำมาลดหย่อนได้ 15 % ของรายได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
- การออมเงิน
- เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นำมาลดหย่อนได้ 15 % ของรายได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
- เงินซื้อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF นำมาลดหย่อนได้ 15 % ของรายได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
- เงินสะสมกองทุนการอออมแห่งชาติ นำลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 500,000 บาท
- ค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ นำมาลดหย่อนได้ 15 % ของรายได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
- ทั้ง 4 ประเภทเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
- ดอกเบี้ยซื้อบ้าน
- ดอกเบี้ยที่จ่ายให้ธนาคารหรือสถาบันการเงินเพื่อสร้าวที่อยู่อาศัย นำมาลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
- โครงการพิเศษอื่นๆ
- โครงการบ้านหลังแรก นำมาลดหย่อนได้ 20% ของราคาบ้านที่ซื้อ โดยจะเฉลี่ยใช้สิทธิเท่าๆ กันเป็นเวลา 5 ปี (เริ่มใช้ ปี 2558-2559)
- โครงการเที่ยวเมืองรอง 55 จังหวัด นำมาลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
- ค่าธรรมเนียมจากการรับชำระเงินด้วยบัตรเดบิต สำหรับเงินได้ประเภทที่ 5-8 คือ ค่าเช่า ค่าวิชาชีพอิสระ ค่ารับเหมาทั้งค่าแรง-ค่าของและเงินได้การประกอบธุรกิจอื่นๆ สามารถนำมาใช้เป็นค่าลดหย่อนเพิ่มได้อีก 1 เท่าของที่จ่ายจริง
- ค่าสนับสนุนพรรคการเมือง ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
- โครงการช็อปช่วยชาติ สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้เพียง 3 หมวดสินค้า คือ ยางล้อรถ หนังสือ และสินค้า OTOP ได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
9.บริจาค
- เงินบริจาคทั่วไป หักค่าใช้จ่ายได้ตามจริง แต่ไม่เกิน10 % ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
- เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษาและการกีฬา หักค่าใช้จ่ายได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน10 % ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
3.นำเงินได้สุทธิ มาเทียบกับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
หลังจากนำเงินได้พึงประเมิน (มาตรา 40 (1-8)) ประจำปี – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ
และได้เงินสุทธิเรียบร้อยแล้ว
ขั้นตอนต่อไปให้นำเงินได้สุทธิ มาเทียบกับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา =ภาษีที่ต้องชำระประจำปี
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ที่มา : http://www.rd.go.th/publish/59670.0.html
และนี่คือ 3 ขั้นตอนสำคัญในการคำนวณภาษี ที่คุณคำนวณเองได้ แต่ถ้าอยากนอกเหนือจากนั้นสามารถใช้โปรแกรมคำนวณภาษีเบื้องต้นได้ เพียงคลิกไปได้ที่ http://dhg.ditc.cloudtax/ ครับ